การจัดโต๊ะประชุม

การจัดรูปแบบและองค์ประกอบของโต๊ะสำหรับห้องประชุม

ในการเตรียมการสำหรับการจัดองค์ประกอบของห้องประชุม ควรพิจารณาและกำหนดรูปแบบของการจัดห้องประชุม โดยใช้วัตถุประสงค์ของการประชุม จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมและรูปแบบของการประชุมเป็นหลักสำคัญ

รูปแบบการจัดวางโต๊ะห้องประชุม

1. แบบ U shape (จัดแบบตัวU)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_u-shape

เป็นรูปแบบที่นิยมมากในกลุ่มที่ใช้การประชุมอภิปรายที่ต้องการปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั้นรู้สึกตำแหน่งเสมอกันในห้องประชุม และยังง่ายต่อการนำเสนอภาพด้านหน้าของโต๊ะประชุม รูปแบบนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นแบบซ้อน (Uซ่อนภายในU) หรือเพิ่มที่นั่งด้านใน การจัดห้องประชุมแบบนี้สามารถเพิ่มที่นั่งได้มากกว่าครึ่งในการขยายผู้เข้าประชุม

2. แบบ Boardroom (จัดแบบประชุมคณะกรรมการ)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_boardroom

เหมาะสำหรับการประชุมแบบประชุมอภิปรายกลุ่มเล็กๆที่ต้องการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด และคาดหวังผลลัพธ์ในการประชุม โดยผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถมองเห็นและได้ยินอย่างชัดเจน และสามารถใช้โต๊ะประชุมลักษณะนี้ในการกิจกรรมอื่นๆได้อีกด้วย แต่ผู้นำเสนอภาพในการประชุมอาจต้องสลับที่นั่งเพื่อการนำเสนอ ห้องประชุมรูปแบบนี้จะมีประสิทธิภาพมากสำหรับกลุ่มประชุมที่น้อยกว่า 20 คน

3. แบบ Clusters (จัดแบบกลุ่ม/หมู่คณะ)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_cluster

ห้องประชุมแบบโต๊ะกลมขนาด 6-10 ที่นั่ง เหมาะสำหรับการประชุมอภิปรายกลุ่มเล็ก การสนทนาแบบโต้ตอบหรือประชุมงานโครงการ ที่เป็นการประชุมแบบกลุ่มใหญ่ และสามารถแบ่งกลุ่มประชุมย่อยในห้องหรือจัดรูปแบบใหม่ เหมาะสำหรับผู้เข้าประชุม60-100 คน

4. แบบ Cabaret (จัดแบบคาบาเรต์)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_cabaret

เป็นการจัดห้องประชุมโดยปรับจากการจัดแบบกลุ่ม โดยลดที่นั่งลงเหลือโต๊ะละ 4-6 ที่นั่ง โดยจัดวางที่นั่งเพียงครึ่งหนึ่งของโต๊ะกลม โดยเว้นด้านหน้าไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นด้านหน้าระหว่างการนำเสนอได้อย่างชัดเจน เหมาะสำหรับการอภิปรายกลุ่มเล็ก และมีผู้เข้าร่วมประชุมตั้งแต่ 60-100คน

5. แบบ Classroom (จัดแบบห้องเรียน)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_classroom

เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ทั่วไป โดยเน้นจำนวนผู้เข้าประชุมจำนวนมาก เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประชุมแบบสื่อสารทางเดียว โดยห้องประชุมแบบนี้จะเป็นการประชุมแบบที่ใช้พื้นที่สำหรับจดบันทึก เหมาะสำหรับกลุ่มอภิปรายขนาดใหญ่

6. แบบ Chevron Classroom (จัดแบบตัวV)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_chevron

การจัดรูปแบบนี้จะคล้ายกับห้องเรียน ต่างกันตรงที่โต๊ะประชุมจะเอียงขึ้นไปทางด้านหน้า และวางแต่ละแถวของโต๊ะให้ระยะห่างอยู่ในระดับเดียวกัน การจัดแบบนี้จะช่วยลดจำนวนแถวของโต๊ะในแถวกลางและทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมองเห็นด้านหน้าได้ชัดเจน

7. แบบ Theater (จัดแบบโรงละคร)

musicspace_conference_รูปแบบโต๊ะประชุม_theater

อย่างที่เราเห็นแบบการจัดห้องประชุมแบบโรงละคร โรงหนัง ซึ่งเหมาะกับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก เน้นการสื่อสารแบบทางเดียว เหมาะสำหรับการประชุมที่นำเสนอภาพและเสียง รวมถึงการบรรยายต่างๆ ระบบเสียงจึงมีความจำเป็นมากสำหรับการประชุมแบบนี้

8. แบบ Circle of chairs (จัดแบบเก้าอี้วงกลม)

การจัดห้องประชุมแบบเก้าอี้วงกลม จะเห็นกันบ่อยในการประชุมแบบที่ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ โดยไม่มีโต๊ะ และให้ทุกคนมีส่วนในการประชุม ไม่มีผู้นำประชุม เหมาะสำหรับผู้เข้าประชุมประมาณ20คน

MusicSpace จำหน่าย-ออกแบบ-ติดตั้ง ระบบห้องประชุม แบบครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-203-1821, 02-641-4744, (มือถือ) 09-5926-5276 , 08-6311-4142

More in this category: รีวิว ไมค์ห้องประชุมออนไลน์ BOSCH รุ่นใหม่ล่าสุด 2023 » [Top 6] โปรแกรมประชุมออนไลน์ (Online Video Conference) » (แนะนำ)ชุดอุปกรณ์สำหรับการประชุมวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ » (แนะนำ) ระบบ Video Conference ในยุคไทยแลนด์ 4.0 » การออกแบบระบบ เครื่องเสียงห้องประชุมขนาดใหญ่ » อุปกรณ์เครื่องเสียงสำหรับห้องประชุมขนาดเล็ก » ชุดทัวร์ไกด์ ชุดแปลภาษา ชุดบรรยายไร้สาย Wireless Tour Guide Systems » ไมโครโฟนไร้สาย ไมค์ลอย Wireless Microphone » ไมโครโฟนประชุม JTS ( JTS Conference System ) » รู้จักกับ ชุดประชุม BOSCH (แบรนด์ขวัญใจมหาชน) » ระบบ VDO CONFERENCE ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ » การจัดวางลำโพงห้องประชุม » รู้จักกับ ชุดประชุม TOA » รู้จักกับ ชุดไมค์ประชุม audio-technica » รู้จักกับ ชุดประชุม TELEVIC » รู้จักกับ ชุดประชุม DIS » 5 อันดับยี่ห้อ “ชุดไมค์ประชุม” ยอดนิยม » ระบบไมค์ประชุม » ไมค์ประชุมไร้สาย : 8 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ + โปรโมชั่น » ระบบเสียงห้องประชุม (ข้อควรรู้) »
Previous Post ระบบเสียงห้องประชุม (ข้อควรรู้)
Next Post ไมค์ประชุมไร้สาย : 8 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ + โปรโมชั่น

โทร. : 02-2031821 , 02-6414744
สายด่วน : 095-9265276 , 086-3114142

หรือส่งข้อความด้านล่างเพื่อติดต่อเราทาง Facebook